มะเร็งเต้านมคืออะไร
มะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิงทั่วโลก มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมากกว่า 1.2 ล้านรายต่อปี พบมากในช่วงอายุ 35 - 55 ปี มะเร็งเต้านมเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติในเต้านมทำให้เกิดก้อนเนื้อที่เรียกว่าเนื้องอก เมื่อเซลล์มะเร็งเต้านมเกิดการเจริญเติบโต มีโอกาสที่เซลล์มะเร็งจะกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายผ่านทางหลอดเลือดหรือน้ำเหลือง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
1. ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป
2. ภาวะน้ำหนักเกินค่ามาตรฐาน
3. เริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย
4. ญาติสายตรงมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม/มะเร็งรังไข่
5. ทานยาคุมกำเนิดนานกว่า 5 ปี
6. มีลูกคนแรกเมื่ออายุมาก
7.ชอบดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารไขมันสูง
8.ไม่ชอบออกกำลังกาย
อาการบ่งชี้มะเร็งเต้านม
- มีก้อนที่เต้านมหรือรักแร้
- รูปร่างหรือขนาดของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไป
- มีเลือด หรือน้ำเหลืองไหลออกมาจากหัวนม
- หัวนมบอดหรือแผลเรื้อรังที่หัวนม
-สีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมที่เปลี่ยนไป
- มีรอยบุ๋ม รอยย่น ผื่นคันบริเวณลานหัวนม
- อาการเจ็บผิดปกติที่เต้านมหรือรักแร้ โดยเฉพาะเจ็บข้างเดียว ผิวหนังของเต้านมที่เปลี่ยนไป
การตรวจมะเร็งเต้านม
1. การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง (Breast Self-Examination) ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการคลำเต้านมด้วยตนเอง คือ 7 วัน หลังจากเริ่มมีประจำเดือน เพราะเต้านมจะบวมตึงน้อยจึงไม่เจ็บเมื่อมีการคลำตรวจเต้านม หากหมดประจำเดือนควรตรวจคลำโดยเลือกวันใดวันหนึ่งที่สะดวกเป็นประจำทุกเดือน
- คลำในแนวก้นหอยได้ทั้งแบบทวนเข็มนาฬิกาและตามเข็มนาฬิกา
- คลำในแนวดิ่งจากใต้นมจนถึงกระดูกไหปลาร้า
- คลำในแนวเส้นตรงโดยใช้นิ้วมือลากเข้ามาที่หัวนม
2. การตรวจเต้านมด้วย Digital Mammogram การตรวจเต้านมที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับในระดับสากล คือการตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) และการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม (Breast Ultrasound) ร่วมกัน ซึ่งการตรวจแมมโมแกรมจะแสดงรายละเอียดสิ่งผิดปกติที่มีขนาดเล็กมากๆ เกินกว่าที่จะพบได้จากการคลำ การตรวจด้วยวิธีนี้จึงเหมาะกับบุคคลทั่วไป รังสีแพทย์ จะทำการอ่านผลการตรวจแล้วผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะเป็นผู้สรุปผลการตรวจให้ทราบ หากมีความผิดปกติแพทย์จะสามารถให้คำปรึกษาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับแนวทางการรักษาในลำดับต่อไป
การรักษาและการดูแลมะเร็งเต้านม
ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้มะเร็งเต้านมสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะ 0 จึงทำให้มะเร็งเต้านมมีทั้งหมด 5 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 0-4 ทำให้การรักษาไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมทุกราย และการรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนมะเร็ง ตำแหน่ง ระยะของโรค สุขภาพของผู้ป่วย วิธีการป้องกันมะเร็งเต้านม เนื่องจากมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการแสดง ทำให้ถูกขนานนามว่า “ภัยเงียบ” การตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือการตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) และการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม (Breast Ultrasound) ร่วมกัน อย่างเป็นประจำจึงมีความสำคัญอย่างมาก ยิ่งมีอายุมากขึ้น ยิ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะหากตรวจพบในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาได้ง่ายและมีโอกาสหายสูงขึ้นมาก
#โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา #โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง #อุบลราชธานี #CMH Best Cancer Hospital in Ubonratchathani
“กายต้องตรงจุด ใจต้องดูแล”
ปรึกษาแนวทางการรักษาและนัดหมายแพทย์
โทร. 045-958-888
สอบถามเพิ่มเติม m.me/chiwamitra
www.chiwamitra.com
แผนที่การเดินทาง https://goo.gl/maps/eiZuEz14scdPHf996
#มะเร็ง #ตรวจสุขภาพประจำปี #ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง #รักษามะเร็ง #เคมีบำบัด #ฉายแสง #Hyperthermia #TargetedTherapy #ยาพุ่งเป้า #ภูมิคุ้มกันบำบัด #หมอมะเร็ง #หมอธนุตม์ #มะเร็งระยะสุดท้าย