การดูแลรักษาโรคมะเร็ง
การดูแลรักษาโรคมะเร็งสิ่งสำคัญคือการตรวจวินิจฉัย ซึ่งการตรวจวินิจฉัยในปัจจุบันต้องมีการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจรังสีวินิจฉัย และสุดท้ายคือการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งกระบวนการวินิจฉัยเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการแบ่งชนิดของชนิดโรคมะเร็งและกำหนดระยะของโรคมะเร็ง
โรคมะเร็งในปัจจุบันนี้ มีทั้งหมดตั้งแต่ระยะที่ 0 คือระยะก่อนที่จะเป็นมะเร็ง หรือระยะที่ถ้าทิ้งไว้แล้วจะเป็นมะเร็งได้ ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งขนาดไม่โตมาก ระยะที่ 2 คือระยะที่ก้อนมะเร็งขนาดโตขึ้น แต่ยังไม่มีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง ระยะที่ 3 คือระยะที่มะเร็งกระจายตัวของมะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง ระยะที่ 4 คือ การที่มะเร็งกระจายตัวไปที่อวัยวะข้างเคียงคืออวัยวะที่อยู่ห่างไกล เช่น กระจายไปปอด กระดูก ตับ หรือสมอง
โดยเมื่อเราได้รับการตรวจวินิจฉัยกำหนดระยะของโรคมะเร็งแล้วก็จะมีประโยชน์ในการเลือกวิธีการรักษาเนื่องมาจากว่ากระบวนการดูแลรักษามีทั้งการผ่าตัด เคมีบำบัด และการฉายรังสี เมื่อทราบระยะของโรคแล้วก็จะมีส่วนในการตัดสินใจว่าจะเลือกวิธีการรักษาวิธีใด
หลังการตรวจวินิจฉัยแล้ว เราจะนำข้อมูลการวินิจฉัยมาดูในส่วนการรักษา ซึ่งปัจจุบันจะมีจุดมุ่งหมายในการรักษาอยู่ 2 อย่าง คือ 1. การรักษาโรคมะเร็งหวังผลให้หายขาด กระบวนการนี้สามารถใช้ได้ในมะเร็งระยะเริ่มต้น 2. การรักษาแบบประคับประคอง จุดมุ่งหมายคือต้องการลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ส่วนมากเรามักจะรักษาคนไข้แบบประคับประคองในระยะลุกลาม
กระบวนการดูแลรักษาโรคมะเร็ง มีกระบวนการอยู่ 3 กระบวนการ
- 1. กระบวนการก่อนการรักษา คือการเตรียมกายและใจ การดูแลทางด้านกายฝั่งทางแพทย์และพยาบาลสามารถดูแลได้ ส่วนทางใจคนไข้และญาติต้องมีการดูแลร่วมกัน ซึ่งจากการดูแลตัวเองทั้งกายและใจก่อนการเตรียมการรักษา ก็จะขึ้นอยู่กับแผนการรักษาแต่ละอย่างเช่น ถ่าเป็นการผ่าตัด ต้องมีการเตรียมตัวว่ามีโรคประจำตัวไหม มีความเสี่ยงในการผ่าตัดไหม การฉายรังสีต้องดูว่า ต้องมีการเตรียมตัวหรือไม่ เช่นการฉายแสงที่ศรีษะและลำคอ ต้องมีการเตรียมทำฟันดูแลช่องปาก ถ้าการฉายเเสงบริเวณช่องเชิงกรานก็ต้องดูความพร้อมอวัยวะที่อยู่ภายใน ส่วนการให้เคมีบำบัดก็ต้องมีการเตรียมดูว่าความพร้อมของร่างกายเช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด ปกติไหม ค่าตับ ค่าไต ปกติไหม
- 2. กระบวนการการดูแลรักษาระหว่างการรักษาหลัก โดยจะต้องดูผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นได้ในช่วงนั้นเช่น มีการคลื่นไส้อาเจียน เม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดงต่ำหรือไม่
- กระบวนการสุดท้ายช่วงที่ 3 การดูแลรักษาระหว่างที่เรารักษาครบแล้ว ก็จะเป็นการดูผลระยะยาวของผลลัพท์ ผลข้างเคียง และเฝ้าติดตามว่ารอยโรคเกิดขึ้นมาใหม่หรือไม่