โรงพยาบาลเปิดให้บริการในช่วงเวลาใดบ้าง
- ประเภทผู้ป่วยนอก (OPD) เปิดให้บริการตั้งแต่ 08.00-20.00 น.
- ประเภทผู้ป่วยใน (IPD) เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
โรงพยาบาลเปิดให้บริการรักษาทุกโรคหรือไม่
โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งอย่างครบวงจร เปิดบริการตรวจสุขภาพประจำปี บริการรังสีรักษา บริการเคมีบำบัด การรักษาด้วยคลื่นความร้อน โดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคมะเร็ง มุ่งมั่นในการดูแลรักษาแบบองค์รวม โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
สามารถติดต่อโรงพยาบาลได้ในช่องทางใดบ้าง
การเข้ารับบริการโรงพยาบาลครั้งแรกต้องทำอย่างไรบ้าง
สามารถติดต่อเพื่อลงทะเบียนเข้ารับบริการได้ที่ แผนกเวชระเบียน (Registration) ชั้น 1 โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา โดยนำบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้เข้ารับบริการมาในวันดังกล่าวด้วย หากต้องการนัดหมายเพื่อเข้ารับบริการ สามารถทำนัดหมายล่วงหน้าและรอรับการยืนยันนัดหมายจากเจ้าหน้าที่
วิธีการเดินทางมายังโรงพยาบาล
บริการห้องพักผู้ป่วยมีกี่แบบ
โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา มีบริการห้องพักผู้ป่วยในสำหรับผู้ป่วยและญาติ 3 รูปแบบ
1. ห้องพักเดี่ยวพิเศษ ขนาดพื้นที่ห้อง 53 ตร.ม.
2. ห้องพักเดี่ยว ขนาดพื้นที่ห้อง 32 ตร.ม.
3. ห้องพักรวม ห้องรวม 4 เตียง ขนาดพื้นที่ห้อง 52 ตร.ม.
ค่าใช้จ่ายในการบริการรักษาโรคมะเร็งเป็นอย่างไร
เนื่องด้วยความแตกต่างในการตอบสนองต่อการรักษาพยาบาลเฉพาะบุคคลที่แตกต่างกัน ค่ารักษาพยาบาลอาจจะไม่เท่ากันในแต่ละราย ทั้งนี้โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตราจะมีการประเมินและแจ้งค่าใช้จ่ายให้ทราบก่อนทำการรักษาทุกครั้ง
การตรวจมะเร็งเต้านมทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง
1. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำเป็นประจำ ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือหลังประจำเดือนมาวันแรกประมาณ 3-10 วัน
2. การตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ เป็นวิธีการตรวจมาตรฐานในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ทำให้สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการแสดง ทำให้เราสามารถตรวจได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ทำให้เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาด
3. การตรวจเต้านมด้วยแพทย์นั้นมีความจำเป็น ซึ่งผู้ป่วยมักมีความเข้าใจผิดว่า หากทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์แล้ว น่าจะเพียงพอ ไม่จำเป็นให้แพทย์ตรวจอีกครั้ง ซึ่งที่ถูกต้อง การตรวจเต้านมด้วยแพทย์ยังมีความจำเป็นเนื่องจากการตรวจด้วยแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์จะสามารถตรวจพบได้เพียง 85-90% แพทย์จะตรวจเพื่อยืนยันว่าไม่มีความผิดปกติอื่นอีก เช่น กรณีมีเลือดออกจากหัวนม หรือมีแผลที่หัวนม มักจะไม่มีความผิดปกติจากการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ การตรวจอย่างละเอียดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง จะทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบความผิดปกติของเต้านมได้มากขึ้น
ควรตรวจมะเร็งเต้านมตอนอายุเท่าไร
ยังไม่มีข้อมูลจากการศึกษาในคนไทยที่ชัดเจนว่าควรตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุเท่าไร แต่อย่างไรก็ตามจากการเก็บข้อมูลสถิติของ Thai Breast Cancer Study Group พบว่าคนไทยมีอายุที่เริ่มเป็นมะเร็งเต้านมอายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
- ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งหลังประจำเดือนมา 3-10 วัน ตั้งแต่วัยที่เริ่มมีประจำเดือนให้เป็นนิสัย
- อายุ 20-40 ปี อาจพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเต้านมด้วยการคลำทุก 2-3 ปี
- อายุ 40-75 ปี ควรตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ ทุก 1-2 ปี
มะเร็งเต้านม พบไว รักษาไว ไม่เสียชีวิตเสมอไปจริงหรือไม่
แม้ว่ามะเร็งเต้านมจะมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง แต่มะเร็งเต้านมจัดว่ายังเป็นมะเร็งชนิดที่ดีกว่ามะเร็งอีกหลายชนิดในร่างการ เช่น มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งปอด จากสถิติของโรงพยาบาลศิริราชพบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะ 0, 1 และ 2 มีโอกาสอยู่รอดปลอดภัยไปอีก 10, 20 หรือ 30 ปีได้มากถึง 90% ดังนั้นคนที่มีความเสี่ยงควรรีบพบแพทย์ตั้งแต่แรกเริ่มและอย่าหมดกำลังใจในการเข้ารับการรักษา
อาการใดบ้างบ่งบอกสัญญาณอันตรายเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่เราควรจะไปพบแพทย์
- มีเลือดหรือสิ่งผิดปกติออกจากร่างกาย เช่น มีตกขาวมากเกินไป
- มีก้อนหรือตุ่ม เกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งของร่างกายและก้อนนั้นโตเร็วผิดปกติ
- มีแผลเรื้อรัง
- มีการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิม
- เสียงแหบ ไอเรื้อรัง
- กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- มีการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน เช่น โตผิดปกติ
ทราบระยะของโรคมะเร็งด้วยวิธีการใดบ้าง
- ตรวจร่างกาย
- เอกซเรย์แบบต่าง ๆ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT), คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI), เพทสแกน (PET scan)
- ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
- ผลตรวจชิ้นเนื้อ
- ลักษณะของก้อนที่พบจากการผ่าตัด
ขณะรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสี จำเป็นต้องอยู่ห่างจากคนใกล้ชิดหรือไม่
ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป กอดลูกหลานได้ ทานอาหารร่วมกับผู้อื่นได้ รังสีจะออกฤทธิ์เฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น
ควรเตรียมตัวก่อนทำเคมีบำบัดอย่างไรบ้าง
การทำเคมีบำบัดอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในบางด้าน การเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการรักษาจะช่วยบรรเทาความเครียด รวมไปถึงลดผลกระทบทางด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยคำแนะนำต่อไปนี้:
- พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้พร้อมกับการรักษา ลดความวิตกกังวล
- บำรุงร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
- ควรดื่มน้ำมาก ๆ ไม่น้อยกว่าวันละ 2-3 ลิตร
- หากมีฟันผุ หรือเหงือกอักเสบ ควรพบทันตแพทย์เพื่อการรักษาก่อนเริ่มรับยาเคมีบำบัด เนื่องจากเมื่อทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ในการรักษาสุขภาพช่องฟันหลังจากได้รับเคมีบำบัดแล้วจะต้องเจาะเลือดก่อนทำฟันเพื่อดูจำนวนเกล็ดเลือด
- เข้ารับการตรวจเลือดเพื่อดูความพร้อมของร่างกายก่อนให้เคมีบำบัด
- รับประทานอาหารก่อนเริ่มรับยาเคมีบำบัดประมาณ 2-3 ชั่วโมง และควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเริ่มรับยา- หากมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ
การให้เคมีบำบัดต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหน
โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาเคมีบำบัดสูตรละ 2-3 ชนิดขึ้นไป แต่ละครั้งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 4 ชั่วโมง ถึง 5 วัน หรือมากกว่า และมีระยะพักของการให้ยาแต่ละครั้งแตกต่างกันขึ้นกับแผนการรักษา การให้ยาเคมีบำบัดไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนต้องให้กี่ครั้ง ขึ้นกับชนิดของมะเร็ง ระยะของโรค สภาพความพร้อมของผู้ป่วย ตลอดจนการตอบสนองต่อยา หรือมีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้รับการรักษาจะมารับยาตามนัดทุกครั้งเพื่อผลการรักษาที่ดี
ผลข้างเคียงของการให้เคมีบำบัดมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะมีปฎิกิริยาตอบสนองต่อยาเคมีที่ต่างกัน ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยมีได้ดังนี้
- ภูมิต้านทานลดลง
- การทำงานของตับและไต
- ฟกช้ำง่าย จากการที่เกร็ดเลือดต่ำ
- มีแผลในช่องปาก
- โลหิตจาง
- ท้องเสีย
- ตาพร่า, เคืองตา, ผมร่วง, ชาตามปลายมือปลายเท้า
ผู้เข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดจึงควรแจ้งผลข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้นกับท่านให้แพทย์ทราบทุกครั้ง โดยแจ้งในขณะที่รับยา หรือก่อนมารับยาในครั้งต่อไป เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ช่วยปรับขนาดของยาให้เหมาะกับการรักษาเป็นรายบุคคล
HYPERTHERMIA การรักษาโรคมะเร็งด้วยความร้อนดีอย่างไร มีวิธีการอย่างไรบ้าง
HYPERTHERMIA การรักษาโรคมะเร็งด้วยความร้อน เป็นการเพิ่มอุณหภูมิไปเฉพาะจุดก้อนมะเร็งด้วยความร้อนที่ 42-43 องศาเซลเซียส ระยะเวลารักษา 60 นาทีต่อครั้ง ซึ่งความร้อนระดับนี้ จะทำให้เซลล์มะเร็งสูญเสียการจำลองแบบของ DNA ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งช้าลง และไปขัดขวางขบวนการซ่อมแซมของตัวเซลล์มะเร็ง รวมถึงยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้มีการตายของเซลล์มะเร็งมากขึ้น HYPERTHERMIA จึงเป็นการเสริมการรักษาโรคมะเร็งร่วมกับให้รังสีรักษาและเคมีบำบัด โดยที่เซลล์ปกติจะไม่ได้รับผลกระทบข้างเคียงจากการรักษา แต่เซลล์มะเร็งจะเกิดความร้อนสะสม ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์อ่อนแอลงเพื่อให้การทำเคมีบำบัดหรือการฉายแสง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น